1. Timer Switch Kg316T Ll 25Aเครื่องตั้งเวลา เปิด-ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้า อัตโนมัติ เลือก 12Vdc หรือ 24Vdc ตามการใช้งาน
timer switch 220v ตั้งเวลา เครื่องตั้งเวลาปิดเปิดไฟ ตัวตั้งเวลา timer 220v timer ตั้ง เวลา 12v dc ตัวตั้งเวลา timer 12v คู่มือตั้งค่า เครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ รุ่น KG316T-II 25A เมื่อได้รับสินค้าแล้ว ลูกค้าตรวจสอบความถูกต้องของตัวสินค้า ค่าแรงดันไฟ ดูด้านข้าง 12VDC หรือ 24VDC หรือ 220VAC ใช้ร่วมกันไม่ได้ หากแรงดันต่ําเครื่องจะไม่ทํางาน หากแรงดันเกินเครื่องอาจจะระเบิดได้ Digital Timer 25A สามารถนํามาใช้งานสั่งให้เปิด/ปิดไฟกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้อย่างมากมาย ภายใน 1 วันจะตั้งโปรแกรมการเปิด-ปิด ได้ 16 ครั้ง เครื่อง KG316T-II ต่อinputไฟ เข้ามาในช่องเสียบสายไฟอินพุต(ช่อง 1,2 ส่วนช่องoutput ช่อง 3,4 ก็เอาไปต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราต้องการจะสั่งเปิดปิดไฟ ใช้งานไม่ยากครับ การตั้งเวลาสามารถเลือกให้เปิดปิดตามวันและเวลาที่เรากําหนด มีแบตเตอรี่แบคอัพด้านใน ถ้าไฟดับค่าต่างๆก็ยังอยู่ ไม่ต้องบันทึกใหม่ เริ่มการใช้งานเครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟ Digital Timer 1 เช็คดูทามเมอร์ก่อนติดตั้ง สังเกตุดูว่าเครื่องพร้อมทํางานแล้วหรือยัง จะมีตัวเลขต่างๆขึ้นที่หน้าจอแสดงว่าพร้อมทํางานแล้ว ถ้ายังไม่มีอะไรขึ้นบนหน้าจอ แสดงว่าแบตเตอรี่แบคอัพที่อยู่ภายในหมด เราต้องต่อไฟ เข้าที่ช่องinput เมื่อต่อไฟ เข้าแล้วจะมีไฟสีแดงติด แต่หน้าจอLCDของเครื่องทามเมอร์จะยังไม่ติดนะครับ ไม่ต้องตกใจนะครับเพราะในแบตเตอรี่ที่อยู่ภายในยังไม่มีไฟเพียงพอที่จะเปิดใช้งาน ให้ต่อไฟให้เครื่องชาร์จไฟลงในแบตเตอรี่สักพักนะครับ รอจนกว่าไฟสีแดงจะดับเอง เมื่อไฟสีแดงดับแล้วเครื่องก็จะพร้อมทํางานครับ โดยหน้าจอจะมีตัวเลขแสดงตามปกติ 2 ที่ตัวเครื่องจะมีปุ่มรีเซ็ตเครื่องหมายC ใช้สําหรับกดเพื่อล้างวันเวลาและโปรแกรมที่ตั้งไว้ทั้งหมด หรือในกรณีที่เครื่องไม่ทําตามคําสั่งเช่น เมื่อตั้งโปรแรมเสร็จเรียบร้อยแล้วกดปุ่มแมนนวลให้ไปอยู่ตําแหน่งautoแล้วเครื่องทามเมอร์ทํางานทันทีและมีไฟแดงขึ้น เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการกดปุ่มรีเซ็ตเพื่อเคลียความผิดพลาดของตัวเครื่องได้ 3 การตั้งเวลานาฬิกาของเครื่องtimerก่อนการใช้งานการตั้งเวลาของเครื่อง เราจะต้องกดปุ่มclockค้างไว้(ปุ่มที่มีสัญญาลักษณ์ของนาฬิกา)เมื่อกดปุ่มนาฬิกาค้างให้เรากดปุ่มD กดพร้อมกัน)จะมีให้เลือกวันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ เราก็เลือกตั้งวันให้ตรง จากนั้นก็กดปุ่มนาฬิกาค้างไว้เพื่อจะตั้งค่าเวลา H กดพร้อมกัน เป็นการตั้งเวลาของวันเป็นแบบ 24 ชั่วโมง ก็ให้เรากดเลือกชั่วโมง ปุ่มถัดไปเป็นการตั้งนาที โดยยังกดปุ่มที่มีรูปสัญลักษณ์นาฬิกาค้างอยู่เหมือนเดิมแล้วกดปุ่มM กดพร้อมกัน เพื่อตั้งเวลาเป็นนาที เมื่อตั้งเสร็จแล้วให้ปล่อยมือจากปุ่มตั้งเวลาได้ เท่านี้ก็เสร็จสินการตั้งเวลาแล้วครับ 4 ทดสอบการทํางานในการสับสวิตซ์ของTimer โดยให้เราทดลองกดปุ่มManualปุ่มสีแดงปุ่มแมนนวลจะมีหน้าที่ไว้เลือกสถานะการใช้งานครับ ON AUTO OFF ถ้าเราต้องการที่จะเปิดใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ ให้กดปุ่ม Manualไปที่ ON เมื่อต้องการปิดก็เลือกไปที่auto หรือ off ถ้าเลือกให้เครื่องมีสถานะ auto จะทําใหเครื่องรอรับคําสั่งจากการตั้งเวลา ทํางานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ที่ตําแหน่งoff ใช้สําหรับปิดการทํางานของเครื่องไม่ให้โปรแกรมที่เราตั้งเปิดปิดไฟไว้ทํางาน 5 ตั้งโปรแกรมเวลาเพื่อสั่งให้ทามเมอร์ทํางานตามที่เราต้องการ ปุ่มP เป็นปุ่มสําหรับตั้งโปรแกรมเปิด-ปิด ให้เรากดปุ่มP ก็จะเป็นการเริ่มตั้งโปรแกรม เราจะเห็นว่าเป็นโปรแกรมที่ 1 on ที่หน้าจอจะมีสถานะบอกว่าเป็นโปรแกรมที่เท่าไหร่และสถานะon-off เมื่อโปรแกรมบ่งบอกสถานะon คือให้เราตั้งเวลาที่จะเปิด โดยกดปุ่มD H และ M เพื่อตั้งวันเวลาที่ต้องการ เมื่อตั้งเวลาเปิดเสร็จแล้วให้กดปุ่มP 1 ครั้งจะเป็นoff และเป็นการตั้งเวลาปิด กดเลือกเวลาที่ต้องการแล้วกดปุ่มP เพื่อให้เครื่องจดจําและไปตั้งโปรแกรมถัดไป ระบบโปรแกรมการตั้งเวลา เครื่องตั้งเวลาสามารถสั่งตั้งเวลาเปิด-ปิดได้ 16 ครั้ง หรือเรียกว่า 16 โปรแกรม 6 ในกรณีที่ต้องการลบโปรแกรมที่เราตั้งไว้ทิ้งทั้งหมด ให้กดปุ่มC/R เมื่อกดปุ่มนี้ค่าโปรแกรมที่เราเคยตั้งไว้ก็จะถูกลบออกไป ทําให้การตั้งเวลาง่ายและสะดวกรวดเร็ว ตัวอย่างหากต้องการตั้งเวลารดน้ําต้นไม้ การตั้งเวลารดน้ําต้นไม้ก่อนมีแสงแดดช่วยให้ประหยัดลดการระเหยของน้ํา) เลือกให้ทําทุกวัน วันเว้นวัน หรือเฉพาะวันที่ต้องการ โดยการกดปุ่มP แล้วเลือกตั้งค่าของวันที่จะให้ทํางานโดยกดปุ้มD เปิด 5.00 น ปิด 5.15 กดปุ่มP แล้วตั้งค่าโปรแกรมที่ 1 onและ 1 off on 5.00, off 5.1 5 เปิด 7.00 น ปิด 7.10 กดปุ่มP แล้วตั้งค่าโปรแกรมที่ 2 onและ 2 off on=7.00, off=7 10 เปิด 15.30 น ปิด 15.40 น กดปุ่มP แล้วตั้งค่าโปรแกรมที่ 3 onและ 3 off on=15.30, off=15.40 จะเป็นการตั้งเวลาเปิดและปิดทั้งหมด 3 โปรแกรมต่อวัน ช่วงโปรแกรมเวลาเปิด/ปิด อื่นๆก็ตั้งเหมือนๆกัน หากต้นไม้ที่ปลูกอยู่เป็นพืชที่ใช้น้ําน้อย และไม่ต้องการน้ําทุกวัน เราสามารถตั้งเวลาให้ทามเมอร์สั่งให้รดน้ําเป็นบางวันได้ เช่นรดน้ําวันเว้นวัน หมายเหตุ การใช้งานจริงไม่ควรใช้งานเกิน 60%ของค่าทนกระแสและถ้าหากใช้กับมอเตอร์ที่ใหญ่และกินกําลังไฟสูงควรหาแมกเนติกคอนแทรกเตอร์ มาช่วยด้วยนะครับ เพราะtimerไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้กับมอเตอร์โดยตรง เงื่อนไขการรับประกัน การใช้งานปกติ 1 ปี ไม่ตก แตก หัก บิ่น งอ มีรอยไหม้ จากกระแสเกิน ลัดวงจร หรือมีรอยงัดแงะ เปียกชื้นหรือโดนน้ํา สติ๊กเกอร์ฉีกขาดหมดรับประกัน หากสินค้ามีปัญหาลูกค้าต้องส่งกลับมาบริษัทเพื่อตรวจสอบ ไม่เข้าใจการตั้งค่า สามารถโทรสอบได้ตลอดนะครับ ID
Line: Powertech99 โทร 066-0945666